หุ่นยนต์ในงานอุตสหาหกรรม

 

                                                                    ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยฯ แก่หน่วยงานวิจัยฯ จากสำนักคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.)     เพื่อสร้างต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่สามารถใช้งานได้จริง และได้แล้วเสร็จตัวหุ่นยนต์ต้นแบบไป เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2550      

             หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด

             สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  

             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป
                             




                                                    หุ่นยนต์อัจฉริยะ

มาซาโยชิ ซน ซีอีโอ SoftBank Group เผยระหว่างการประชุมออนไลน์ SoftBank World 2021 ว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น เตรียมทุ่มสรรพกำลังกับหุ่นยนต์เต็มที่ในขณะที่หุ่นยนต์ Pepper กำลังจะโบกมือลา ซนกล่าวว่ากองทุน Vision Fund สำหรับลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของ SoftBank เข้าไปลงทุนในบริษัทที่กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่เสริมประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งล้ำกว่าหุ่นยนต์ Pepper ที่สามารถเต้นและทักทายผู้คนได้ “หลายปีก่อนเรามีอีเว้นต์ยิ่งใหญ่เปิดตัว Pepper แต่ตอนนี้มันกำลังอับอาย” ซนกล่าวขณะยืนอยู่หน้าหุ่นยนต์ Pepper ที่ถูกปิดสวิตช์ ขณะนี้ซีอีโอของ SoftBank กำลังมองไปยังอนาคตของหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ไม่เพียงจะมาแทนที่การผลิต แรงงานในอุตสาหกรรม แต่จะมาแทนที่แรงงานคนทั้งหมดระหว่างที่ซนพูดจะปรากฏวิดีโอหุ่นยนต์หน้าตาเหมือนมนุษย์ (humanoid robot) ที่กำลังวิ่งและเต้น รวมทั้งหุ่นยนต์รูปทรงกระป๋องที่กำลังทำความสะอาดพื้นอย่างไรก็ดี ซนไม่ได้เอ่ยถึงการลงทุนใหม่หรือราคาตลาดของหุ่นยนต์ รวมทั้งไม่แตะประเด็นการยุติการลงทุนของ SoftBank ในจีนซึ่งทางการกำลังเข้ามาควบคุมตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีอย่างเข็มงวด เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา SoftBank ขายหุ้น 80% ของบริษัท Boston Dynamics ที่ผลิตหุ่นยนต์สุนัข Spot ให้กับบริษัท Hyundai Motor Group ของเกาหลีใต้มูลค่า 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ 1 เดือนต่อมา สำนักข่าว Reuters รายงานว่า SoftBank จะยุติการขายหุ่นยนต์ Pepper ภายในสิ้นปี 2023 หลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2014 ซนยังกล่าวอีกว่า SoftBank ยังคงร่วมงานกับ Boston Dynamics และหลังจากหุ่นยนต์ Pepper จะตามมาด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า "smabo" ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมาจากคำว่า "smart" ที่แปลว่าอัจฉริยะ และ "robot" ที่แปลว่าหุ่นยนต์



หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์


แม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภายใน

สำหรับ OEM ระดับ Tier 1 ไปจนถึงผู้รับเหมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน โคบอทที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าได้ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอให้กับส่วนประกอบย่อย เกณฑ์การวัด และระบบการทำงาน โคบอทที่ปรับใช้และติดตั้งใหม่ได้ง่ายสามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โคบอทสามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน ในขณะที่ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมนั้นทำให้คุณต้องเลือกระหว่างใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย โคบอทกลับช่วยให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติได้ในบางหน้าที่และยังคืนทุนได้เร็วอีกด้วย















หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
โคบอท หรือ Collaborative Robots คือหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างเป็นแขนกลที่ทำงานหยิบจับจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆและหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด ซึ่ง Cobot จะมีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย สามารถตรวจวัดและผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้หลายๆชิ้นตามสเกลที่กำหนดไว้โดยปราศจากข้อผิดพลาด โดยโคบอทมีความแตกต่างจากหุ่นยนต์หรือโรบอททั่วไปคือโคบอทมีน้ำหนักเบาและขนาดไม่เทอะทะ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆในโรงงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยโคบอทถูกใช้อย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เคมีภัณฑ์ ยา อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องเครื่องจักร NC

ประวัติส่วนตัว

รายชื่่อสมาชิกในชั้นเรียน